
คงไม่มีสินค้าชนิดไหนที่พูดถึงจุดอ่อนในสินค้าของตัวเอง ซึ่งจริงๆ แล้วสินค้าทุกอย่างมีจุด อ่อน แต่สินค้าทุกอย่างจะประชาสัมพันธ์เฉพาะจุดแข็งจุดเด่นของสินค้าของตัวเอง(คงมีแต่เหล้าและบุหรี่เท่านั่นที่โฆษณาแต่จุดอ่อนของตัวเอง) แน่นอนว่าทุกบริษัทต้องแก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องไม่มีจุดอ่อนจึงสามารถขายสินค้านั้นได้ เพราะในขณะที่มีจุดอ่อนมันก็มีจุดแข็งที่ขายตัวมันเองได้ และคนที่ซื้อก็สามารถมองข้ามจุดอ่อนได้ เพราะเขาสนใจที่จุดแข็งของสินค้านั้น
เราทุกคนมีจุดอ่อนและจุดด้อยแต่เราก็มีจุดแข็งด้วย มีกี่คนที่มองเห็นจุดแข็งของตัวเองและใช้มันจนประสบความสำเร็จ ซึ่งคนส่วนมากมักจะสนใจในจุดอ่อนและพยายามที่จะแก้ไขปรับปรุงจุดอ่อนจนลืมจุดแข็งที่มีอยู่ในตัวเรา บางคนอาจต้องใช้ทั้งชีวิตเพื่อแก้ไขจุดอ่อน และเราก็พบว่าหลายคนทำไม่สำเร็จในการแก้ไขจุดอ่อน จนรู้สึกว่าชีวิตนี้ล้มเหลว
หลายคนมีความคิดว่าถ้าจะทำอะไรบางอย่างให้ดีเราต้องรู้หรือชำนาญในเรื่องนั้นก่อน แล้วก็พยายามมองหาว่าตัวเองต้องรู้อะไรบ้างและไม่รู้อะไรบ้าง และก็ไปเรียนเพื่อทำให้ตัวเองรู้สิ่งที่จะทำ ความคิดแบบนี้ไม่ผิดและเห็นด้วยว่าเราต้องเรียนเพื่อจะทำสิ่งนั้นๆ ได้อย่างดี แต่มองในมุมกลับทำไมเราไม่มองว่าเรามีอะไรบ้าง เรารู้อะไรบ้าง และเริ่มจากสิ่งที่เรามีและเรารู้(ยกเว้นเราไม่มีอะไรจริงๆ)แล้วก็เริ่มจากสิ่งที่เรามี
แล้วทำไมเราจึงไม่ค่อยเห็นจุดแข็งของตัวเอง? แต่มัวเสียเวลากับจุดอ่อน(ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า คำว่า ?จุดอ่อน? ในที่นี้ไม่เกี่ยวของกับจุดอ่อนที่เป็นความบาป เพราะจุดอ่อนที่เป็นบาปนั้นเราต้องเปลี่ยนและให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลง)
อะไรคือปัญหาที่ทำให้เราละเลยและไม่สนใจในจุดแข็งของตัวเอง? เพราะเรามักจะคิดว่า ถ้าเราจะพัฒนาตนเอง เราจะคิดถึงจุดอ่อนของเราก่อนมากกว่าคิดถึงจุดแข็ง คือ เรามักคิดถึงสิ่งที่เราขาดและวัฒนธรรมของเรามีส่วนในวิธีคิดของเรา มีข้อมูลว่าคนที่เน้นจุดแข็งมากที่ คือ คนอเมริกัน ร้อยละ 41 จะบอกว่าการรู้จักจุดแข็งของตัวเองจะช่วยในการปรับปรุงตัวเองได้มากที่สุด และคนที่เน้นจุดแข็งน้อยที่สุดคือ ญี่ปุ่น และจีน ที่จริงผมว่าคนเอเซียเกือบทั้งหมด ชอบจัดการกับจุดอ่อนมากกว่าสนใจจุดแข็ง หลายคนที่เกิดในครอบครัวคนจีน มักจะไม่ค่อยได้รับคำชมเชยจากพ่อแม่ว่าเราเก่งอะไร แต่เราจะถูกตำหนิว่าเรามีจุดอ่อนอะไรเสียมากกว่า เราจึงคุ้นเคยกับจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็ง เพราะคนจีนมีแนวคิดว่าอย่าชมเด็กต่อหน้าเดี๋ยวจะเสียนิสัย ซึ่งผมว่าไม่จริง
นิยามของคำว่า ?จุดแข็ง? คือ ?การปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้แทบจะสมบูรณ์แบบ อย่างสม่ำเสมอ? และได้ให้หลักการในเรื่องนี้ไว้ 3 ข้อ คือ
1)จะถือว่ากิจกรรมใดๆ เป็นจุดแข็งได้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถทำกิจกรรมนั้นได้อย่างสม่ำเสมอ จนสามารถคาดหวังได้ และถ้าถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องใดเป็นจุดแข็งแน่นอนแล้วละก็ คำตอบก็คือ ความสามารถที่จะถือว่าเป็นจุดแข็งได้ก็ต่อเมื่อคุณจินตนาการได้ว่าคุณสามารถ ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างมีความสุข และเป็นผลสำเร็จ
2)เราไม่จำเป็นต้องมีจุดแข็งที่เกี่ยวกับบทบาทของเราครบถ้วนทุกด้าน จึงจะถือว่าเป็นเลิศ ดังนั้นความคิดที่ว่าผู้ที่ปฏิบัติได้ดีเลิศ จะต้องเก่งรอบด้านนั้น จึงไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะเราอาจจะเก่งเฉพาะด้านเท่านั้น ก็เป็นจุดแข็งได้
3)เราจะเป็นเลิศได้โดยการเพิ่มพูนจุดแข็งให้มากที่สุด เพราะการพยายามแก้จุดอ่อน จะไม่ทำให้เราเป็นเลิศได้
แล้วเราจะค้นหาจุดแข็งของเราได้อย่างไร
-ให้สังเกตปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นเองในทันทีทันใด ต่อสถานการณ์ที่เราประสบเพราะมันจะทำให้เราเห็นจุดแข็งแกร่งที่สุดในสมองของเรา การตอบสนองอย่างทันทีทันใดจะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงจุดแข็งและจุดอ่อนด้วย
-
-เราจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งนั้นๆ อยากทำ ชอบทำ
-
-เราจะเราสามารถเรียนรู้ได้เร็วในเรื่องนั้นๆ เรียนได้เร็วกว่าคนอื่น
-
-เราจะมี ?ความพึงพอใจ? ที่บังเกิดขึ้นเมื่อได้ทำสิ่งนั้นๆ รู้สึกดีมากๆ สนุกกับมัน
-
-
จากหนังสือ ?เจาะจุดแข็ง? ได้ให้เหตุผลว่าทำไมเราจึงละเลยที่จะพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง โดย มีเหตุผล 3 ประการ คือ...
(อ่านต่ออิทตยหน้า)
ไพโรจน์.
*บทความนี้เขียนจากแนวคิดจากหนังสือ ?เจาะจุดแข็ง? ของ Marcus Buckingham และ Donald O.Clifton
ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย.. |