Christ Church Bangkok  

การปกครอง คริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพ
องค์การคริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย




สัญลักษณ์ของคริสตจักรไคร้สตเชิช กรุงเทพ

ประวัติความเป็นมาของคริสตจักรไคร้สตเชิช คริสตจักรไคร้สตเชิชเริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นสถานนมัสการภาคภาษาอังกฤษ  เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1864 ได้ตั้ง ชื่อว่า Protestant Union Chapel โดยทั่วไปเรียกว่า โบสถ์อังกฤษโดยมีสถานที่ตั้งอยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับสุสานโปรเตสแตนท์ และเนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง พระราชไมตรีอันดีกับราชวงค์อังกฤษ      จึงได้ทรงเห็นชอบที่จะให้มีสถานนมัสการสำหรับชาวคริสเตียนฝ่ายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของคริสตจักรไคร้สตเชิชตั้งแต่สมัยแรกนั้นจำนวนสมาชิก ที่ไปนมัสการที่โบสถ์อยู่เป็นประจำ    ไม่มีกำลังที่จะให้ค่าตอบแทนแก่อนุสาสกได้   ดั้งนั้น มิชชั่นนารีชาวอเมริกันจึงผลัดกันนำการนมัสการพระเจ้า อยู่ทุก ๆ สัปดาห์ บางครั้งก็เป็นมิชชั่นนารีจากคณะแองลิกัน บางครั้งก็มาจาก คณะเพรสไบทีเรียน จนกระทั่งปี ค.ศ.1892องค์กรมิชชั่นได้ส่งอนุสาสกมาประจำที่โบสถ์คนแรก

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1896 บิชอป Labuan, Kuching และแห่งสิงคโปร์ได้เยี่ยมคริสตจักรที่กรุงเทพฯและประกอบพิธีศีลกำลังในคริสตจักร และคริสตจักรก็ได้อยู่ภายใต้การดูแลของบิชอปแห่งสิงคโปร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ไคร้สตเชิชเป็นคริสตจักรนานาชาติที่มีสมาชิกในที่ประชุมมาจากนานาประเทศ  และมีภูมิหลังความเชื่อ  จากหลายคณะนิกาย  
         
เมื่อ 7 เมษายน ค.ศ.1904 เนื่องจากคริสตจักรเพิ่มขึ้นจนสถานที่ในการนมัสการไม่เพียงพอ คณะกรรมการคริสตจักรจึงถวายฎีกาแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ในการขอพระบรมราชานุญาตให้ เพื่อที่จะสร้างคริสตจักรใหม่ ซึ่งในการถวายฎีกาดังกล่าว ได้รับพระบรมราชานุญาต จากสำนักราชวัง นอกจากนั้น พระบาท-สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ก็ได้พระราชทานที่ดินแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 11 ถ.คอนแวนต์ ในปัจจุบันเพื่อสร้างเป็นคริสตจักรแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า คริสตจักรไคร้สตเชิช จนถึงทุกวันนี้ เมื่อ 30 เมษายน ค.ศ.1905 ได้ถวายอาคารและเริ่มนมัสการพระเจ้าเป็นครั้งแรกในการเริ่มแรกคริสตจักรไคร้สตเชิชเป็นคริสตจักรสำหรับคนต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษและเป็นที่นมัสการสำหรับคนต่างชาติทั่วไปที่มีโอกาสเยี่ยมประเทศไทยเช่นพระราชินีอลิซาเบทที่ 2 เจ้าฟ้าชายชาร์ล เจ้าหญิงไดอาน่า และอดีตนายยกรัฐมนตรี แห่งประเทศอังกฤษ นางมาร์กาเร็ตแทเชอร์ จากการเริ่มต้นที่คริสตจักรไคร้สตเชิชที่ไดดำเนินงานกับคนต่างชาติ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานาน และจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการประกาศข่าวประเสริฐ กับคนในท้องถิ่น   รวมทั้งต้องการให้มีการนมัสการในภาษาท้องถิ่น การนัมสการพระเจ้าเป็นภาษาไทยจึงได้เริ่มขึ้นที่คริสตจักรไคร้สตเชิชในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1934 ถึง 1940 โดยใช้หนังสือภาวนา(Prayer Book)ที่ศาสนาจารย์นอร์วู้ด(Reverend Norwood)และผู้ช่วยคนไทยได้แปลขึ้น  แต่ก็มีบางช่วงที่แทบจะไม่มีผู้เชื่อคนไทย อยู่ในที่ประชุมของคริสตจักรไคร้สตเชิชเลย
จากนั้นคณะกรรมการพยายามที่จะสรรหาผู้รับใช้พระเจ้าที่พูดภาษาไทยได้    เพื่อเข้าร่วมในทีมงานพันธกิจของคริสตจักรแต่ไม่สามารถสรรหาผู้รับใช้ที่พูดภาษาไทยได้ การริเริ่มนมัสการภาคภาษาไทยจึงไม่สำเร็จ จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1991 เมื่อศาสนจารย์ เจอรรี่ คู ได้รับการแต่งตั้งจากไดโอซีส แห่งสิงคโปร์ ให้เป็นผู้ช่วยศิษยาภิบาล(Assistant Priest)การประชุมนมัสการภาคภาษาไทยก็เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1991     โดยการประชุม จาก 7 คนในห้องประชุมเล็กในคริสตจักรไคร้สตเชิช และขยายออกไปอย่างกว้างขว้าง จนถึงทุกวันน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1994 คริสตจักรไคร้สตเชิชได้จดทะเบียนสังกัดกับคริสตจักรแองลิกันแห่งประเทศไทย โดยสังกัดกับสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การใหญ่ทางศาสนาคณะโปรเตสแตนท์ จากนั้น คริสตจักรแองลิกันก็ได้ขยายพันธกิจ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น อ.บ้านฉาง จ.ระยอง , อ.สว่าง-แดนดิน จ.สกลนคร และมีคริสตจักรที่สังกัดอีกหลายแห่ง จาก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่, อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน, อ.เมือง จ.นครราชสีมา, อ.แม่สอด จ.ตาก
เราเป็นคริสตจักรแองลิกันในประเทศไทยสังกัดอยู่ในสำนักงานเขตการปกครองแองลิกันสิงคโปร์ (Diocese of Singapore) ขึ้นอยู่กับศาสนมณฑล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Province of South East Asia) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิกายแองลิกันสากล